“โรคซึมเศร้า” จัดได้ว่าเป็นโรคทางด้านจิตเวชชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันยังคงมีคนจำนวนมากที่ยังคงไม่รู้จักโรคนี้ดีพอ ส่งผลทำให้บางคนที่เกิดเป็นโรคชนิดนี้กลับไม่รู้เลยว่าตนเองเป็นโรคอะไร ต้องทำอย่างไร บางคนเลือกที่จะมองว่าตนเองกำลังคิดมากหรือไม่ก็คิดไปเองเสียมากกว่า เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม ส่งผลทำให้ในบางครั้งก็กลายเป็นเรื่องที่สายจนเกินจะแก้ไข ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคนที่เป็นโรคชนิดนี้มักจะปลิดชีวิตตัวเองเป็นสำคัญ เพราะคิดว่าการเสียชีวิตถือได้ว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขานั่นเอง
โรคซึมเศร้า คืออะไร? ตรงนี้มีคำตอบ!
ยังคงมีกลุ่มคนจำนวนมากที่ไม่รู้จัก “โรคซึมเศร้า” บางคนฟังชื่อโรคนี้กลับรู้สึกไม่คุ้นเคยก็มี สำหรับหลาย ๆ คนเมื่อได้นึกถึงโรคชนิดนี้ พวกเขาอาจจะนึกถึงเกี่ยวกับโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกที่ผิดหวังเสียมากกว่า บางคนมองว่าเป็นความรู้สึกเศร้าผ่านการสูญเสียซึ่งถือได้ว่าไม่ใช่โรค แต่สำหรับในบางครั้ง หากมนุษย์เราต้องพบเจอกับอารมณ์เศร้าที่ไม่เคยคลายตัวลงเลยเป็นระยะเวลานาน ๆ ไม่มีท่าทีเลยว่าจะดีขึ้นกว่าเดิม หรือมีอารมณ์เศร้าที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมตามมา อย่างเช่น มีอาการนอนไม่หลับ หรือ นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ มีอาการเบื่ออาหารตลอดเวลาส่งผลทำให้น้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ บางรายอาจจะหมดกำลังใจ ทำให้ไม่สนใจโลกภายนอกว่าจะเป็นอย่างไร และท้ายที่สุดกลุ่มคนเหล่านี้อาจจะคิดฆ่าตัวตาย เพราะรู้สึกไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไปในที่สุด สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการต่าง ๆ เหล่านี้ แท้ที่จริงแล้ว พวกเขาจัดได้ว่าเข้าข่ายกับการเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว นั่นเอง
โดยปกติแล้วตามความหมายคำว่า “โรคภัย” สามารถบ่งบอกได้ว่าคน ๆ นั้นมีความผิดปกติทางร่างกายหรือมีความผิดปกติสำหรับทางการแพทย์โดยตรง ส่งผลทำให้ต้องเข้ารับการดูแลรักษาเพื่อทำให้อาการที่เกิดขึ้นมีความทุเลาลง ซึ่งแตกต่างไปจากภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยที่เป็นโรคชนิดนี้ เพราะผู้ป่วยจะมีภาวะซึมเศร้าพร้อมกับอาการต่าง ๆ ร่วมด้วย เป็นเหตุทำให้พวกเขาไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ทั้งระบบการทำงาน ทั้งระบบการใช้ชีวิตจะแย่ลงไปเรื่อย ๆ ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากโรคชนิดนี้มีผลทำให้การทำกิจวัตรประจำวันของคนเราบกพร่องไปเสียหมด
เชื่อได้ว่า สำหรับกลุ่มคนที่เกิดคำตอบในใจว่า “โรคซึมเศร้าคืออะไรกันแน่?” เมื่อพวกเขาได้อ่านมาถึงจุด ๆ นี้ จะส่งผลทำให้พวกเขามีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคชนิดนี้ได้มากยิ่งขึ้น อย่างน้อยก็ทำหลาย ๆ คนได้เข้าใจแล้วว่า กลุ่มคนที่พบเจอว่าตนเองกำลังเป็นโรคชนิดนี้นั้น พวกเขาไม่ใช่คนอ่อนแอ ไม่ใช่คนที่คิดมากหรือคิดไปเอง พวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนที่คิดจะไม่สู้กับปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาเป็นอยู่นั้นมันคืออาการของโรคชนิดนี้ หากผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ได้รับการรักษา ดูแลอย่างถูกต้อง จะส่งผลทำให้โรคที่เขาเป็นมีอาการเบาบางลงได้ ผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมามีชีวิตที่เป็นปกติ จิตใจแจ่มใส และมีความพร้อมที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้ดีดังเดิม

สัญลักษณ์ โรคซึมเศร้า ทำไมต้องเป็นหมาดำ ?
ในปัจจุบันนี้เมื่อพูดถึงสัญลักษณ์ของโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่ก็ต้องบอกว่าคือ “หมาดำ” แล้วทำไมต้องเป็นหมาดำหละ ? จริงๆแล้วหมาดำนั้นมาจากหนังสือชื่อ “I Had a Black Dog: His name was depression” เป็นผลงานการเขียนของคุณแมทธิว จอห์นสโตน (Matthew Johnstone) นักเขียนและนักวาดชาวออสเตรเลีย โดยได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.2005
โดยในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้เล่าถึงภาวะซึมเศร้า ประสบการณ์ที่พบเจอและการรับมือกับโรคนี้ ผ่านหมาสีดำตัวนึง โดยเจ้าหมาดำนี้จะสร้างปัญหาต่างๆ ในชีวิตตลอดเวลาให้ผู้เขียนต้องแก้ไข ทำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงภาวะความรู้สึกนี้ รวมถึงรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยในเล่มนี้ยังให้ความหวังและแรงบันดาลใจกับผู้คนที่กำลังเผชิญโรคซึมเศร้านี้อีกด้วย
โรคซึมเศร้า อาการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
- การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์
ผู้ป่วยจะมีลักษณะเป็นคนซึมเศร้า เหงา ดูหดหู่ และมีความสะเทือนใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมักจะร้องไห้ออกมาบ่อยมาก แม้กระทั่งเรื่องที่ดูเล็กน้อยก็ยังคงส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีความอ่อนไหวได้ทันที แต่ก็ยังคงมีกลุ่มผู้ป่วยบางกลุ่มที่เกิดอารมณ์เศร้าไม่ค่อยชัดเจน แต่พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีจิตใจที่หม่นหมองเป็นสำคัญ รู้สึกไม่แจ่มใสพร้อมทั้งไม่ค่อยสดชื่นเหมือนก่อน บางกลุ่มอาจจะมีความรู้สึกเบื่อง่าย เบื่อหลาย ๆ สิ่งรอบตัว กิจกรรมที่เคยทำแล้วสนุก เพลิดเพลิน ในตอนนี้กลับทำแล้วรู้สึกไม่สนุก ไม่สบายใจเสียมากกว่า หรือไม่ก็ไม่อยากทำอะไรเลย ผู้ป่วยบางกลุ่มจะมีลักษณะหงุดหงิดง่าย อารมณ์ร้ายกว่าเดิม และไม่ค่อยใจเย็น
- ความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ด้วยความคิดที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมองไปทางไหนก็จะรู้สึกแย่ไปเสียหมด มองเห็นแต่ความผิดพลาดของตัวเอง มองเห็นแต่ความล้มเหลว ทำให้ทุกอย่างดูแย่ไปเสียหมด มองไม่พบเจอทางออก ทำให้ผู้ป่วยมีลักษณะท้อแท้ สิ้นหวัง บางคนมีลักษณะไม่มั่นใจ มองว่าตนเองไร้วามสามารถ ดูไร้ค่า ดูลังเลใจเป็นอย่างมาก กลับกลายเป็นทำอะไรก็กลายเป็นภาระของคนอื่น ส่งผลทำให้พวกเขามองว่าการตายคือทางออกที่ดี หากมีอะไรมากระทบเทือนจิตใจของพวกเขา ก็จะทำให้พวกเขาคิดทำร้ายตัวเองในที่สุด
- ความจำและสมาธิดูแย่ลง
อาการหลงลืม อาการนึกอะไรไม่ค่อยออก จิตใจดูเหม่อลอยบ่อยจนเกินไป ทำอะไรนาน ๆ กลับไม่มีสมาธิเท่าที่ควร หากดูโทรทัศน์แบบนาน ๆ กลับดูไม่รู้เรื่อง ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงเป็นอย่างมาก
- โรคซึมเศร้ากับอาการทางร่างกาย
อาการอ่อนเพลียบ่อย ๆ ดูเหมือนไม่มีเรี่ยวแรง มีอารมณ์ที่เบื่อหน่ายอะไรแบบง่าย ๆ ไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น อีกทั้งระบบการนอนก็ยังคงมีปัญหา ทั้งนอนหลับยาก ทั้งนอนแล้วรู้สึกนอนไม่เต็มอิ่ม หรือไม่ก็หลับ ๆ ตื่น ๆ มีอาการเบื่ออาหาร ส่งผลทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
- ความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลทำให้ความสัมพันธ์เปลี่ยนไป
ผู้ป่วยมักจะมีอาการซึมลงเรื่อย ๆ ไม่สดใส ไม่ร่าเริง และยังคงเลือกที่เก็บตัวเสียมากกว่า ไม่อยากจะพูดจากับใร ๆ บางคนมีลักษณะขี้ใจน้อย มีลักษณะอ่อนไหวได้ง่าย บางคนมีอาการหงุดหงิดบ่อยมาก ทำให้มีปากเสียงกับคนอื่นง่ายขึ้น
- ทำงานได้แย่ลงกว่าเดิม
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาการที่เปลี่ยนแปลงจนเห็นได้ชัด นั่นก็คือ นิสัย ความรับผิดชอบที่ดูแย่ลง โดยเฉพาะเรื่องงานที่ดูเหมือนจะมีปัญหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ บางคนเลือกที่จะทำงานแบบลวด ๆ เพื่อให้เสร็จ ๆ ไป บางคนเลือกที่จะลาออกจากงาน บางคนเลือกที่จะหยุดงานบ่อย เป็นต้น
- อาการทางจิต
สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรงมักจะมีอาการทางจิตร่วมด้วย ไม่ว่าเป็น อาการคิดผิด หลงผิด มีอาการหลอนส่งผลทำให้มีความคิดในแง่ลบเป็นสำคัญ เหมือนมีคนจะมาคอยกลั่นแกล้ง ทำร้าย ถึงแม้ว่าอาการเหล่าจะมีเกิดขึ้นแบบชั่วราว แต่ก็วรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีให้เร็วที่สุด
โรคซึมเศร้า มีกี่ระดับ?
หลายคนอาจจะสงสัยว่า โรคซึมเศร้า มีกี่ระดับกันแน่ เป็นมากเป็นน้อยแค่ไหน ซึ่งปกติแล้วอาการซึมเศร้าจัดได้ว่าเกิดขึ้นได้หลายระดับด้วยกัน ตั้งแต่ระดับน้อย ๆ ที่มีผลในชีวิตประจำวัน ไปจนกระทั่งระดับมาก ซึ่งมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น และสุดท้ายก็กลายเป็นระดับที่มากสุดหรือวามสมบูรณ์ของโรค และด้วยเหตุนี้เองจึงมีแบบสอบถามเพื่อประเมินภาวะทางอารมณ์เศร้า ซึ่งจัดได้ว่าเป็นแบบสอบถามที่สามารถนำมาใช้เพื่อทำการประเมินว่าคุณมีภาวะซึมเศร้าจริงหรือไม่ มีระดับความรุนแรงมากหรือน้อยไหน หากเป็นมากในระดับที่ควรเข้ารับการรักษาทันที คุณก็ควรที่จะพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
ในการประเมินเบื้องต้น สามารถเข้าไปทำ โรคซึมเศร้า แบบทดสอบ ได้ที่ https://med.mahidol.ac.th/infographics/76
สาเหตุ โรคซึมเศร้า เกิดจากหลากหลายปัจจัยที่คุณควรรู้!
สำหรับในปัจจุบันมีหลายแนวคิดที่สามารถสรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า นั้น ถือได้ว่ามาจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่เกิดจากทางด้านของกรรมพันธุ์ ปัญหาเรื่องการพลัดพรากของเด็ก ๆ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของพัฒนาการทางด้านจิตใจ นอกจากนี้ยังคงมีในเรื่องของชีวภาพ อย่างเช่น ระบบการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีที่มีอยู่ภายในสมองของคนเราบางตัว อีกด้วย ส่วนปัจจัยที่นับได้ว่ามีความเกี่ยวข้องมากที่สุด จนกระทั่งกลายเป็นสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า มีดังนี้
- ปัจจัยทางด้านกรรมพันธุ์
ในส่วนของกรรมพันธุ์นั้น นับได้ว่ามีความเกี่ยวข้องสูงที่จะกลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคชนิดนี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอาการเป็นโรคชนิดนี้แบบซ้ำ ๆ หลายครั้งด้วยกัน
- ระบบสารเคมีที่มีอยู่ในสมองของมนุษย์
ปกติแล้วระบบสารเคมีที่มีอยู่ในสมองของมนุษย์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคชนิดนี้ที่มักจะมีระบบสารเคมีที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทุกอย่างค้นพบได้อย่างชัดเจน เพราะสารเคมีชนิดที่สำคัญ ๆ ที่ควรมีมักจะมีลักษณะที่ต่ำลงมาก อย่างเช่น ซีโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน นอกจากนี้อาจจะมีความผิดปกติในส่วนของเซลล์รับสื่อสารเคมีร่วมด้วย ซึ่งเชื่อได้ว่าทั้งสองสิ่งจะมีระบบการควบคุมและการประสานงานแบบร่วมกัน ทำให้ยาแก้ซึมเศร้าที่ถูกนำมารักษา จะมีฤทธิ์ช่วยปรับระดับความสมดุลของสารเคมีภายในสมองเป็นหลัก นั่นเอง
- นิสัย แนวคิดของแต่ละบุคคล
แนวคิดต่าง ๆ รวมไปถึงนิสัยใจคออาจจะเป็นผลทำให้บางคนต้องกลายเป็นโรคชนิดนี้ไปในที่สุด อย่างเช่น การพยายามมองตนเองโดยเฉพาะในแง่ลบ มองหาแต่ความบกพร่องของตนเองเป็นหลัก พยายามมองโลกในแง่ร้ายเสียส่วนมาก เป็นต้น ซึ่งกลุ่มคนที่มีนิสัยและความคิดแบบนี้เมื่อต้องพบเจอกับสถานการณ์ที่ต้องกดดัน ย่อมมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอาการซึมเศร้าขึ้นได้ง่าย ๆ
จากข้อมูลเบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่า สาเหตุ โรคซึมเศร้า เกิดจากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ใช่แค่เพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น ผู้ป่วยที่ได้รับปัจจัยต่าง ๆ เข้ามากระตุ้น อาจจะมีมากบ้าง น้อยบ้าง ย่อมมีผลกระทบทั้งสิ้น ส่วนในเรื่องของการพิจารณาของโรคชนิดนี้สำหรับทางการแพทย์แล้วนั้น มักจะพิจารณาจากอาการต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยเป็น รวมไปถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก หากมีอาการถึงเกณฑ์ที่จะต้องทำการวินิจฉัยโรค กลุ่มคนเหล่านั้นย่อมต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วที่สุดถึงจะขึ้นชื่อว่าปลอดภัยในระดับหนึ่ง
การรักษา โรคซึมเศร้า
ปกติแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะทำการวินิจฉัยผู้ป่วยเป็นสำคัญ โดยรวมหากผู้ป่วยมีอาการถึง 5 อาการ หรืออาจจะมากกว่า จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาตามอาการทันที แต่ผู้ป่วยจะต้องมีอาการในส่วนของข้อที่1 หรือไม่ก็ข้อที่ 2 อย่างน้อยต้อง 1 ข้อ และอาการที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาการที่เกิดขึ้นจะต้องเป็นอยู่เกือบตลอดวันหรือตลอดเวลาในทุกวัน โดยอาการต่าง ๆ ที่แพทย์จะวินิจฉัย มีดังนี้
- ผู้ป่วยมีลักษณะซึมเศร้าทั้งวัน หรือ อาจจะเป็นอารมณ์แบบหงุดหงิดง่ายจนเกินไป
- การทำกิจกรรมต่าง ๆ ดูมีความสนใจลดน้อยลงเป็นอย่างมาก และไม่อยากจะทำกิจกรรมใด ๆ ทั้งวัน
- ผู้ป่วยน้ำหนักลดลง ซึ่งน้ำหนักมีลักษณะเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าร้อยละ 5 / เดือน หรือ ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร หรือไม่ก็เจริญอาหารมากจนผิดปกติ
- ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือไม่ก็หลับมากจนเกินไป
- ผู้ป่วยมีลักษณะกระวนกระวายใจ อยู่ไม่ค่อยเป็นสุข มีอาการเชื่องช้าลงมาก
- ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
- มีความรู้สึกว่าตนเองไม่มีค่า
- ผู้ป่วยสมาธิดูสั้นลง มีอาการใจลอย มีความลังเลใจเป็นอย่างมาก
- ผู้ป่วยมีความคิดอยากจะฆ่าตัวตาย
การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้
- แพทย์จะสอบถามอาการพร้อมทั้งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ยิ่งถ้าหากผู้ป่วยสามารถเล่าอาการที่เกิดขึ้นได้ละเอียดมากขึ้นเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้แพทย์มีความเข้าใจและวินิจฉัยผู้ป่วยได้มากขึ้นเท่านั้น
- แพทย์จะทำการซักถาม เพื่อค้นหาว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคชนิดอื่น ๆ ที่มีอาการใกล้เคียงหรือคล้ายกัน
- แพทย์จะสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติการรักษา อาการเจ็บป่วยที่เคยเป็น เพื่อค้นหาสามารถที่จะทำให้เป็นโรคนี้เพิ่มเติม
- แพทย์สอบถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย โรคชนิดต่าง ๆ ที่ญาติของผู้ป่วยเป็น เนื่องจากสาเหตุของโรคอาจสืบเนื่องมาจากกรรมพันธุ์ร่วมด้วย
- แพทย์ทำการตรวจร่างกายเพิ่มเติม
กระบวนการรักษาโรคซึมเศร้า
ในส่วนของการรักษาโรคชนิดนี้ จำเป็นจะต้องอาศัย ยาเพื่อแก้อาการซึมเศร้า ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการมากเป็นหลัก แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการแรกเริ่มหรือมีอาการไม่มากเท่าไหร่นัก แพทย์จะคอยชี้แนะแนวทาง พร้อมทั้งนำเสนอมุมองรูปแบบใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยได้ทำการปรับตัวเพิ่มเติม หรือไม่ก็แนะนำสิ่งต่าง ๆ ที่ช่วยทำให้ผู้ป่วยมีจิตใจที่ดี มีความผ่อนคลาย และสามารถคลายปมหรือความทุกข์ในใจได้ในที่สุด หากผู้ป่วยรายไหนมีวามจำเป็นจะต้องใช้ยาเพื่อลายกังวล แพทย์อาจจะทำการจ่ายยาให้เพิ่มเติม
ปกติแล้ว ยาแก้อาการซึมเศร้า มักจะมีส่วนทำให้สามารถรักษาโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าผู้ป่วยบางรายอาจจะมีความทุกข์ใจเสียมากกว่า ซึ่งปัญหาหรือต้นเหตุมาจากภาวะทางจิตใจ รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีอาการหรือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเพิ่มเติม ยาก็จะช่วยรักษาและบำบัดอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วย แต่หลัก ๆ ทำให้อารมณ์เศร้า คความวิตกมีอาการเบาบางลงได้ และในระยะเวลาที่ผ่านมาจากการศึกษาผ่านการรักษาผู้ป่วยโดยรวม ในกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 20 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยยานั้น กลับมีอาการที่ดีขึ้นจนกระทั่งหายได้มากถึง 17 – 18 คนด้วยกัน
ยารักษา โรคซึมเศร้า
ยารักษา โรคซึมเศร้า หากเป็นเมื่อก่อนคงมียาแค่ 4 – 5 อย่างเท่านั้น และถึงแม้ว่ายาชนิดเก่าก่อนจะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพว่าสามารถรักษาโรคชนิดนี้ได้เป็นอย่างดี แต่ก็พบว่าการใช้ยายังถือได้ว่ามีข้อจำกัดอยู่มาก เพราะผู้ป่วยต้องพบเจอกับผลข้างเคียงหลังจากที่ได้รับประทานยาเข้าไปแล้ว ทำให้ต้องมีการปรับในส่วนของขนาดของยา ซึ่งถือได้ว่าทำได้ยากลำบาก แต่สำหรับในยุคปัจจุบันนี้ได้ค้นพบยาตัวใหม่ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงที่น้อยกว่าหรือลดลง ส่งผลทำให้สามารถมั่นใจและเลือกใช้ยาได้ดียิ่งขึ้น
สำหรับตัวยาที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน มักจะเป็นยาในกลุ่ม SSRI นับได้ว่ามีกลไกที่สำคัญที่สามารถยับยั้งในการดูดซึมตัว ชีโรโตนิน ให้กลับเข้าเซลล์ภายในร่างกาย มีผลทำให้ชีโรโตนินมีลักษณะที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตรงส่วนต่อที่อยู่ระหว่างเซลล์ประสาท อีกทั้งในปัจจุบันนี้ตัวยายังจัดได้ว่ามีหลายขนาน และยังคงผลิตได้ในประเทศ ส่งผลทำให้ตัวยามีราถูกลงกว่าเดิมมาก ส่วนตัวยาที่ถูกนำมาใช้เป็นขนานแรก ๆ ได้แก่ fluoxetlne หรือไม่ก็ sertrallne สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มผู้สูงอายุพร้อมทั้งผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว จำเป็นจะต้องได้รับยาที่มีขนาดต่ำกว่า โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาชนิดอื่น ๆ อยู่แล้ว ควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง
โรคซึมเศร้า กินยานานแค่ไหน หายได้ไหม?
สำหรับคำถามที่ว่า “โรคซึมเศร้า กินยานานแค่ไหน หายได้ไหม” นับได้ว่าเป็นคำถามสำคัญที่สามารถตอบได้ชัดเจนว่า ปกติแล้วหลังจากที่ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์ ซึ่งเปรียบเสมือนได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์โดยตรง หากผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น แพทย์จะทำการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยในขนาดที่เหมาะสมหรือไม่ก็ขนาดที่ใกล้เคียงกันกับขนาดที่ผู้ป่วยเคยได้ ซึ่งจะกำหนดให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อประมาณ 4 – 6 เดือนด้วยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้พบในกรณีของผู้ป่วยที่หยุดไม่ยอมกินยา ส่งผลทำให้อาการกำเริบอีกครั้งและดูเป็นอาการที่แย่ลง แต่สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาไปรับประทานจนกระทั่งครบทั้งหมด 6 เดือน และพบว่าไม่มีอาการอะไรแล้วในระหว่างนั้น แพทย์จะค่อย ๆ ลดขนาดของยาลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งครบ 2 เดือน แพทย์จึงจะเริ่มต้นหยุดจ่ายยาให้กับผู้ป่วย
และถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะมีลักษณะหายจากโรคซึมเศร้าแล้ว แต่ก็ยังคงมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าได้อีกครั้ง จากผลการรักษาที่ผ่านมานั้น ผู้ป่วยเกินครึ่งกลับมีอาการกลับมาป่วยซ้ำได้อีก บางคนหายจากโรคชนิดนี้ไปนานกว่า 2 – 3 ปีแต่ยังคงสามารถกลับมาเป็นโรคนี้ใหม่อีกครั้งได้ บางคนหายจากโรคชนิดนี้ไปแล้วถึง 5 ปีเต็ม ก็ยังคงกลับมาเป็นโรคชนิดนี้ได้อีกครั้ง และจากส่วนมาก หากผู้ป่วยกลับมาเป็นโรคชนิดนี้ครั้งที่ 2 ก็ย่อมที่จะกลับมาเป็นครั้งที่ 3 ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่กลับมาเป็นโรคชนิดนี้แล้วถึง 3 ครั้ง แพทย์จะทำการจ่ายยาและกำหนดให้ผู้ป่วยกินยาต่อไปอย่างยาวนานเป็นปี ๆ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำได้อีกนั่นเอง